วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริ

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพพื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัต (เขาเจ้าลายใหญ่)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

พระราชดำริ

เมื่อปี พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพระราชกระแสรับสั่งกับแม่ทัพภาคที่ 1 ให้ดำเนินการพื้นฟูบริเวณที่เกิดการถล่มของเขานางพันธุรัต (เขาเจ้าลายใหญ่) พื้นที่บริเวณใกล้เคียง และอนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงตำนานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับนางพันธุรัตในวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ซึ่งเป็นวรรณกรรมอันทรงคุณค่ายิ่งต่อประเทศไทย
ต่อมามีพระราชดำริเพิ่มเติมสรุปได้ดังนี้ 
   ให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จัก จะได้ร่วมมือกันในการอนุรักษ์และฟื้นฟู กำหนดขอบเขตโครงการที่แน่นอนสำหรับเขตอันตรายจะต้องประกาศให้ชัดเจน ศึกษาว่าหินจะถล่มลงมาอีกหรือไม่ ศึกษาหาวิธีช่วยเร่งปฏิกิริยาให้หินเปลี่ยนสี
วัถุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพพื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตฯ ไว้เป็นมรดกของชาติ
   2.พัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณเขานางพันธุรัต ด้วยวิธีทางธรรมชาติโดยการบริหารจัดการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
   3.เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไปให้เห็นความสำคัญและคุณค่า รวมทั้งประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ผลการดำเนินการ
ในการจัดทำแผนแม่บทระยะที่ 2 (2548-2550) โดยพิจารณาในภาพรวมของกรอบแผนและแผนรายปี ซึ่งแต่ละหน่วยที่เสนอจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย กลยุทธ์ และตอบสนองต่อเป้าหมายของแผน โดยนำประมวลพระราชดำริของพระองค์ท่าน 9 ข้อหลัก ๆ คือ การกำหนดขอบเขตโครงการที่ชัดเจน การอนุรักษ์ให้มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ศึกษาการเปลี่ยนปฏิกิริยาของสีหิน ให้มีการศึกษาเกี่ยวกับการไหลของน้ำ ศึกษาว่าหินจะถล่มลงมาอีกเมื่อไร การอนุรักษ์เหมืองหินปูน เขามันหมู เขาถ้ำโหว่ การปลูกต้นไม้ริมทาง ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ ซึ่งแผนในระยะที่ 1 ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งยังนำมาสู่วิสัยทัศน์ที่คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาคือ ยึดแนวพระราชดำริ เพื่อสนองพระราชดำริให้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการทำงานแบบองค์รวมทุกมิติเชื่อมโยงกัน ทั้งในแง่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โดยใช้แผนเป็นตัวชี้นำ ทั้งนี้ แต่ละหน่วยงานจะ

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1)ด้านการฟื้นฟูสภาพธรรมชาติ
  • การปลูกต้นไม้ฟื้นสภาพป่า โดยจัดตั้งเรือนเพาะชำกล้าไม้และพันธุ์พืชธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น จำนวน 10,000 กล้า/ปี พร้อมทั้งปลูกพืชเบิกนำเพื่อฟื้นสภาพดินและสภาพธรรมชาติให้กลับมาดังเดิม
  • ปลูกเสริมและบำรุงรักษาพืชที่ปลูกเป็นระยะ ๆ ปลูกปีละ 100 ไร่ พื้นที่เป้าหมาย 300 ไร่
  • การจัดเวรยามระวังและป้องกันไฟป่าในเขตพื้นที่โครงการ
  • ดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดแนวเขตวนอุทยานแนวเขตชุมชนเกษตรกรรมและเหมืองแร่
  • จัดทำป้ายเขต หลักเขตวนอุทยาน โดยให้มีลักษณะกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีความแข็งแรงหรือถนนรอบแนวเขต



2)ด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การฝึกอบรมเยาวชนและนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์เขานางพันธุรัต
  • การศึกษาสำรวจสภาพนิเวศป่า สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ความรู้ทางธรรมชาติ
  • จัดทำปรับปรุงและซ่อมแซมถนนทางเดินศึกษาธรรมชาติ
  • จัดทำแหล่งเก็บกักน้ำ จำนวน 2 แห่ง
  • การวางแนวระบบไฟฟ้าหลักในพื้นที่โครงการ และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
  • การศึกษาวิจัยเพาะพันธุ์สาหร่ายและผลกระทบจากการใช้สารเคมีเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนสีหิน เป็นการทดลองการฟื้นฟูธรรมชาติด้วยวิธีทางธรรมชาติที่ประหยัด ซึ่งขณะนี้รอผลการวิเคราะห์

3)ด้านการบริหารจัดการ
  • การรณรงค์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยการจัดทำข้อมูล ข่าวสาร เพื่อเผยแพร่ทางสื่อมวลชนในลักษณะขอความร่วมมือร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาทำให้มีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น จำนวน 23,257 คน ในปี 2548
  • สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการในท้องถิ่นในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ แนวทาง และกิจกรรมในการดำเนินงานโครงการ
  • ทำการศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่ายแกมเขียว สามารถเจริญเติบโตได้ดีและจะหยุดชะงักหรือไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีกในช่วงฤดูแล้ง หรือถ้ามีต้นไม้โตเร็วมาบังก็จะทำให้เจริญเติบโตได้อีก ส่วนสีที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนสีหินแทนการนำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส ผลการศึกษาทดลองพบว่าไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
    เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จจะทำให้เกิดการรักษาความมั่นคงสมดุลของสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับเป็นแหล่งศึกษา ทดลอง และเรียนรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่า อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคงความสมดุลของระบบนิเวศน์วิทยา อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาการบุกรุกที่ดินทำกินและล่าสัตว์ป่าอีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา:http://www.rdpb.go.th/RDPB/Front/Projects/ImportantDetail.aspx?projectid=34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น